22 ส.ค. 2020

มรส.เปิดธนาคารปูม้าพลังงานแสงอาทิตย์ ร่วมพัฒนาทะเลชุมชน เพิ่มรายได้ชาวประมง อ.ไชยา

alt

วันนี้(22 ส.ค.63) มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี(มรส.) ร่วมกับหน่วยงานภาครับ ภาคเอกชน ผู้นำท้องถิ่นและประชาชนในพื้นที่ จัดพิธีเปิดอาคารปฏิบัติการและจัดการทรัพยากรชายฝั่งโดยมีชุมชนมีส่วนร่วมพลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อใช้เป็นอาคารในการดำเนินงานของโครงการวิจัยเรื่อง การบริหารและจัดการสัตว์น้ำเศรษฐกิจในทะเลชุมชน ตำบลตะกรบ อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยได้รับเกียรติจากนาย เจริญศักดิ์ วงศ์สุวรรณ นายอำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี มาเป็นประธานในพิธีเปิดอาคาร ณ บ้านฝ่ายพรุ หมู่ที่ 1 ตำบลตะกรบ อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี

นาย เจริญศักดิ์ วงศ์สุวรรณ นายอำเภอไชยา เปิดเผยว่า เพื่อเป็นการแก้ปัญหาการรุกล้ำของการทำประมงที่ผิดประเภท ทางด้านฝ่ายปกครองและชาวบ้าน ได้ร่วมกันอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์น้ำบริเวณชายฝั่ง โดยมีการพัฒนาด้วยการนำทุ่นเขตจากชายฝั่งออกไปยังน้ำทะเลเป็นพื้นที่ประมาณ 1,200 ไร่ เพื่อเป็นเขตแนวในการกำหนดสถานที่อยู่อาศัยให้กับสัตว์น้ำและทรัพยากรทางทะเลมาเป็นเวลาประมาณ 4 ปี ชาวบ้านจึงเรียกบริเวณนี้ว่าเป็น “ทะเลชุมชน” จึงทำให้เกิดความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรสัตว์น้ำหลากหลายชนิดและเป็นแหล่งอาหารของชาวบ้าน ดังนั้นบริเวณนี้จึงเป็นบริเวณที่เหมาะสมต่อการอนุบาลสัตน้ำวัยอ่อน เช่น ปู และการทำบ้านปลา เนื่องจากมีหญ้าทะเล แพลงตอนที่เป็นอาหารที่สำคัญของสัตว์น้ำทะเลต่าง ๆ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฐิติพงศ์ เครือหงส์ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มรส. กล่าวว่า คณะผู้วิจัยของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการเข้ามาสนับสนุนความยั่งยืนของชุมชน ด้วยการนำความรู้ด้านวิชาและงานวิจัยมาร่วมกับการบูรณาการกับชุมชนเพื่อดำเนินการ การบริหารและจัดการสัตว์น้ำเศรษฐกิจในทะเลชุมชน ส่งเสริมการอนุรักษ์และพัฒนาทะเลชุมชนให้เป็นพื้นที่นำร่องทางทะเลที่มีความอุดมสมบูรณ์และเป็นแหล่ประมงเลี้ยงชีพของชุมชนท้องถิ่นอย่างยั่งยืน โดยมีการกำหนดแผนงานวิจัยการบริหารและจัดการสัตว์น้ำเศรษฐกิจในทะเลชุมชน ต.ตะกรบ อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี ออกเป็น 4 แผนงาน ได้แก่ 1.การประเมินประสิทธิภาพธนาคารปูม้า โดยผศ.ดร.ชมพูนุท ชัยรัตนะ ร่วมกับอาจารย์ณัฐพล เมฆแดง 2.ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการธนาคารปูม้า โดยผศ.เอพร โมฬี ร่วมกับผศ.ธนา จารุพันธุเศรษฐ์ 3.คุณสมบัติทางฟิสิกส์บางประการ อุณหภูมิ กระแสน้ำ ความลึกที่เหมาะสมในการปล่อยลูกปูม้า และ 4.การบริหารและจัดการธนาคารปูม้าในทะเลชุชน โดยผศ.ดร ฐิติพงศ์ เครือหงส์

เทพพิทักษ์ ยศหมึก นักประชาสัมพันธ์ ข่าว
สำนักข่าวลูกยางนิวส์ นิเทศศาสตร์ มรส. ภาพ
งานสื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

{AdmirorGallery}news-evens/01-2020-news/2020-08-22-chaiya{/AdmirorGallery}