10 มี.ค. 2021

ม.ราชภัฏสุราษฎร์ธานี ลงนามความร่วมมือกับ 4 หน่วยงาน อว. พัฒนาวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ชุมชนด้วย วทน. จากพืช ทำต้นแบบผลิตภัณฑ์บํารุงผิวและผิวหน้า ชู “ไทยแบรนด์” สร้างงาน อาชีพและรายได้

เมื่อวันที่ 9 มี.ค. 64 ผศ.ดร.วัฒนา รัตนพรหม รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ร่วมลงนามความร่วมมือ เรื่อง “การสนับเลขาธิการมูลนิธิ ณภาฯ ในพระราชดำริ กรมหลวงราชสาริณี ลงนามความร่วมมือกับ 4 หน่วยงานของกระทรวงการอุดมศึกษาฯ วิจัย พัฒนาวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ชุมชนด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมจากพืช ทำต้นแบบผลิตภัณฑ์บํารุงผิว – บํารุงผิวหน้า ชู “ไทยแบรนด์” สร้างงาน สร้างรายได้ให้กับผู้พ้นโทษ ผู้ขาดโอกาส และชุมชสนุนการศึกษาวิจัย พัฒนาวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ชุมชนด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม” และ ““การสนับสนุนการศึกษาวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์จากสารสกัดจากพืชสมุนไพรไทย” ระหว่างมูลนิธิ ณภาฯ ในพระราชดำริสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) มหาวิทยาลัยราชภัฏ(มรภ.)อุดรธานี และ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ว่า ความร่วมมือครั้งนี้ จะทำให้เห็นถึงการนำองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมของ อว.ไปให้บริการมูลนิธิณภาฯ ในพระราชดำริฯ ซึ่งจะมีผลต่อประชาชนและชุมชนต่างๆ โดยมูลนิธินภาฯ จะเข้ามาช่วยทำแบรนด์ ทำตลาด เสริมในสิ่งที่ อว.ยังขาดอยู่ ขณะที่มหาวิทยาลัยราชภัฎ ก็นำความรู้ลงสู่ชุมชนเช่นเดียวกับ วว. วศ.จะได้นำงานวิจัยของตนเองมาใช้ประโยชน์อย่างเต็มประสิทธิภาพมากขึ้น โดยมีศ.(พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นประธานในพิธี
:
สำหรับความร่วมมือในครั้งนี้ ทั้ง 5 หน่วยงานจะร่วมกันศึกษาวิจัย เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ชุมชน โดยยึดหลัก BCG Model โดยนำวัสดุที่หาได้ง่ายในท้องถิ่นมาพัฒนาต่อยอดให้ได้สินค้าที่มีเอกลักษณ์และมีคุณภาพเป็นที่ยอมรับในระดับสากล มีกำหนดระยะเวลาความร่วมมือ 3 ปี โดยไฮไลท์ คือการศึกษาวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์จากสารสกัดจากพืชสมุนไพรไทยท้องถิ่นในแต่ละภูมิภาคของประเทศไทย เพื่อทำผลิตภัณฑ์ที่มีสรรพคุณของสมุนไพรไทยตามมาตรฐานสากลและสามารถใช้ประโยชน์ ในเชิงพาณิชย์ เพื่อสร้างรายได้ให้กับผู้พ้นโทษ ผู้ขาดโอกาส และชุมชนอย่างยั่งยืน
:
ที่น่าสนใจคือการวิจัยสารสกัดจากพืชสมุนไพรไทย ได้แก่ ดอกบัวแดง ดอกจันทน์กะพ้อ ดอกเก็ดถวา และดอกกฤษณา เพื่อสกัดเป็นสารออกฤทธิ์สารหอมระเหย หรือ สารสกัดรูปแบบอื่นที่สามารถนํามาใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ได้ โดยจะพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบการบํารุงผิว ผลิตภัณฑ์บํารุงผิวหน้า ผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับผม ผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับการทําความสะอาดในครัวเรือน และ ผลิตภัณฑ์อื่นๆ โดยในส่วนของ วว.จะมีการจัดตั้งเป็นศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการสกัดสารออกฤทธิ์และสารหอมระเหย จากพืชสมุนไพรให้กับมูลนิธิ ณภาฯ ในพื้นที่ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง อ.บ้านดุง จ.อุดรธานี ซึ่งเป็นพื้นที่ของ สํานักงานโครงการส่วนพระองค์ฯ ของ กรมหลวงราชสาริณีด้วย
:
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(อว.) ภาพ/ข่าว
นายอดิสรณ์ เนาวโคอักษร นักประชาสัมพันธ์ รายงาน
#สื่อสารองค์กรมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี