ปรัชญา

สร้างปัญญา เพื่อพัฒนาชุมชนท้องถิ่น

ค่านิยมหลักองค์กร

สร้างปัญญาศรัทธาความดี

วิสัยทัศน์

มหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน สร้างแผ่นดินด้วยภูมิปัญญาให้เป็นพลัง ภายใต้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

เอกลักษณ์

มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น

ปณิธาน

องค์กรต้นแบบแห่งการเรียนรู้ สร้างสรรค์ชุมชนท้องถิ่นอย่างยั่งยืน

วัฒนธรรมองค์กร

SRU Sharing : ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมแบ่งปัน ร่วมภาคภูมิใจ

พันธกิจ

  1. แสวงหาความจริงเพื่อสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการ บนพื้นฐานของภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทย และภูมิปัญญาสากล
  2. ผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ คู่คุณธรรม มีสำนึกความเป็นไทย มีความรักและผูกพันต่อชุมชนท้องถิ่น อีกทั้งส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต เพื่อให้สมาชิกในชุมชนท้องถิ่นรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง มีส่วนสำคัญในการพัฒนาประเทศ
  3. เสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจในคุณค่า ความสำนึก และความภูมิใจในวัฒนธรรมไทย เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนท้องถิ่น และประเทศชาติโดยรวม
  4. เรียนรู้และเสริมสร้างความเข้มแข็งของผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา และนักการเมืองให้มีจิตสำนึกประชาธิปไตย มีคุณธรรมจริยธรรม และความสามารถในการบริหารงานพัฒนาชุมชนและท้องถิ่น เพื่อประโยชน์ของส่วนรวม
  5. เสริมสร้างความเข้มแข็งของวิชาชีพครู ผลิตและพัฒนาครู และบุคลากรทางการศึกษาให้มีคุณภาพและมาตรฐานที่เหมาะสมกับการเป็นวิชาชีพชั้นสูง
  6. ประสานความร่วมมือและช่วยเหลือเกื้อกูลกันระหว่างมหาวิทยาลัยกับชุมชนท้องถิ่น และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตลอดทั้งองค์อื่นทั้งในประเทศและต่างประเทศเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น
  7. ศึกษาและแสวงหาแนวทางพัฒนาเทคโนโลยีพื้นบ้านและเทคโนโลยีสมัยใหม่ให้เหมาะสมกับการดำรงชีวิตและการประกอบอาชีพของสมาชิกในชุมชนท้องถิ่นโดยใช้ศาสตร์พระราชา รวมถึงการแสวงหาแนวทางเพื่อส่งเสริมให้เกิดการจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน
  8. ศึกษาวิจัย ส่งเสริม และสืบสานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริในการปฏิบัติภารกิจของมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น

นโยบายการบริหาร

มหาวิทยาลัยแห่งการบูรณาการ ผสานองค์ความรู้ สู่การสร้างนวัตกรรม เพื่อพัฒนาชุมชนท้องถิ่นอย่างยั่งยืน

อัตลักษณ์

วิศวกรสังคม : นักคิด นักสื่อสาร นักประสาน นักนวัตกร

โดยกำหนดคุณลักษณะบัณฑิตของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีดังนี้

    1. การมีทักษะการคิดวิเคราะห์เชิงเหตุ – ผล เห็นปัญหาเป็นสิ่งท้าทาย
    2. มีทักษะในการสื่อสาร สื่อสารองค์ความรู้เพื่อการแก้ปัญหา
    3. มีทักษะในการทำงานร่วมกับผู้อื่นปราศจากข้อขัดแย้ง ระดมสรรพกำลัง ทรัพยากรเพื่อการแก้ปัญหา
    4. มีทักษะการสร้างนวัตกรรมเพื่อสังคม โดยมีแผนการขับเคลื่อนให้นักศึกษาลงพื้นที่เป็นสังคมอย่างเป็นรูปธรรม

ประเด็นยุทธศาสตร์

  1. การพัฒนาท้องถิ่น
  2. การผลิตและพัฒนาครู
  3. การยกระดับคุณภาพการศึกษา
  4. พัฒนาระบบบริหารจัดการ