ม.ราชภัฏสุราษฎร์ธานี ยกระดับบุคลากรผ่านห้องเรียนวิศวกรสังคม พัฒนา “Soft skills” พร้อมขับเคลื่อนบูรณาการข้ามศาสตร์ ตอบโจทย์เป็นมหาวิทยาลัยวิศวกรสังคมอย่างแท้จริง
—————————————–
วันที่ 12 กันยายน 2566 ณ โรงแรมลอฟท์ มาเนีย บูติค จังหวัดชุมพร ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วัฒนา รัตนพรหม รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี (มรส.)เป็นประธานพิธีเปิดโครงการพัฒนา Soft Skills (ห้องเรียนวิศวกรสังคม) ให้แก่บุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ด้วยกระบวนวิศวกรสังคม (Social Engineer Classroom) ผ่านระบบออนไลน์ (Webex meeting)ระหว่างวันที่ 12-14 กันยายน 2566 โดยมีดร.พลกฤต แสงอาวุธ รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษาและเครือข่ายศิษย์เก่า กล่าวรายงาน หวังบุคลากรนำความรู้และนำทักษะการวิศวกรสังคม ผ่านการพัฒนา Soft skills ไปใช้พัฒนาชุมชนท้องถิ่นต่อไป
.
ผศ.ดร.วัฒนา รัตนพรหม รักษาราชการแทนอธิการบดี กล่าวว่ามหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี เป็นมหาวิทยาลัยที่มีปฏิญาชัดเจนว่าเป็น “มหาวิทยาลัยแห่งความจงรักภักดีเหนือเกล้า” ปฏิบัติตามพระปนิธานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว คือ การเป็นมหาวิทยาลัยแห่งการสร้างวิศวกรสังคม เพื่อพัฒนาชุมชนท้องถิ่น โดยวิศวกรสังคมเป็นกระบวนการพัฒนานักศึกษาเพื่อการเป็นบัณฑิตที่มีคุณลักษณะ และทักษะในทศวรรษที่ 21 ที่ตอบสนองต่อการพัฒนาท้องถิ่นตามอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ที่มีคุณลักษณะสำคัญ 4 ประการ ได้แก่ นักคิด-ทักษะการคิดวิเคราะห์เชิงเหตุ-ผล เห็นปัญหาเป็นสิ่งท้าทาย นักสื่อสาร-ทักษะในการสื่อสารองค์ความรู้เพื่อการแก้ปัญหา นักประสานงาน-ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่นโดยปราศจากข้อขัดแย้งระดมสรรพกำลังทรัพยากรเพื่อการแก้ปัญหา นวัตกร-ทักษะการนวัตกรรมเพื่อสังคมจึงนำไปสู่โครงการ Soft Skills ด้วยกระบวนการวิศวกรสังคม (สำหรับห้องเรียนวิศวกรสังคม) ซึ่งเป็นกิจกรรมที่สำคัญเป็นอย่างยิ่ง ขอให้ทุกคนมีทักษะทั้ง 4 นี้เพื่อสามารถนำไปประยุกต์ใช้และเป็นวิศวกรสังคมอย่างภาคภูมิใจ โดยนำเครื่องมือวิศวกรสังคมมาประยุกต์ใช้ เช่น ทักษะและการสร้างเครื่องมือการดำเนินงานวิศวกรสังคม (ฟ้าประทาน) ทักษะและการสร้างเครื่องมือการดำเนินงานวิศวกรสังคม (นาฬิกาชีวิต) ทักษะและการสร้างเครื่องมือการดำเนินงานวิศวกรสังคม (ไทม์ไลน์พัฒนาการ) ทักษะและการสร้างเครื่องมือการดำเนินงานวิศวกรสังคม (ไทม์ไลน์กระบวนการ) ทักษะและการสร้างเครื่องมือการดำเนินงานวิศวกรสังคม (MIC Model) มาบูรณาการร่วมกันกับการศึกษาเป็นบัณฑิตที่มีคุณภาพพร้อมรับใช้และพัฒนาสังคมต่อไป
—————————————-
อดิสรณ์ เนาวโคอักษร ถ่ายภาพ/ข่าว
เทพรวี ทวีเฉลิมดิษฐ์ ออกแบบ
#50ปีมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
#สื่อสารองค์กรมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี