มรส.จับมือ พอช. MOUร่วมสร้างชุมชนเข้มแข็ง พัฒนาหลักสูตรตอบโจทย์ความต้องการท้องถิ่น
วันนี้ (31 ส.ค. 61)มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ร่วมบันทึกความเข้าใจความร่วมมือทางวิชาการกับสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) โดยมี คุณแจ่มจิตร์ พูลสวัสดิ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี ให้เกียรติมาเป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจ เพื่อพัฒนาหลักสูตรที่ตอบสนองต่อความต้องการของชุมชนท้องถิ่น ณ ห้องราชพฤกษ์ 4 อาคารสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
รศ.ดร.ชูศักดิ์ เอกเพชร รักษาราชการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี กล่าว่า การจัดทําโครงเครือข่ายความร่วมมือครั้งนี้ มีจุดเริ่มต้นมาจากการที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี เป็นสถาบันการศึกษาในพื้นที่ทําหน้าที่พัฒนาองค์ความรู้เพื่อการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นมาอย่างยาวนาน ได้มีการปรับแผนยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยระยะ 5 ปี เพื่อขยายบทบาทการบริการการศึกษาของมหาวิทยาลัยที่ไม่จํากัดอยู่ในกลุ่มผู้เรียนกระแสหลัก โดยการเพิ่มบทบาทการพัฒนาการศึกษาสําหรับทุกคนในชุมชนท้องถิ่นให้สามารถเข้าถึงบริการการศึกษา ตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนในพื้นที่ ด้วยการพัฒนาหลักสูตรระยะสั้นที่มีความจําเพาะในการพัฒนาทักษะและสมรรถนะของผู้เข้ารับการฝึกอบรมให้สามารถยกระดับคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ด้วยศักศรีความเป็นมนุษย์ที่มั่นคงมั่งคั่งยังยืน และสามารถนําผลการเรียนรู้เชื่อมโยงกับหลักสูตรปริญญาบัตรระดับต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยในอนาคต ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางหลักของสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน ที่มุ่งเสริมสร้างศักยภาพ สนับสนุนเสริมสร้างความเข้มแข็งขององค์กรชุมชนและเครือข่ายองค์กรชุมชน ในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาชุมชนท้องถิ่นเพื่อนําไปสู่ “ชุมชนท้องถิ่นจัดการตนเอง” ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ด้วยการพัฒนา บุคลากรในองค์กรชุมชนต่าง ๆ บนฐานวิชาการ
ด้าน นายวิชัย นะสุวรรณโณ ผู้อํานวยการภาค สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) กล่าว่า สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนได้ตระหนักในหน้าที่และความรับผิดชอบต่อสังคมและความสําคัญในการ พัฒนาศักยภาพบุคลากรที่ตอบสนองต่อความต้องการของชุมชนท้องถิ่น โดยอาศัยองค์ความรู้ต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพและทั่วถึง รวมทั้งเพื่อให้เกิดการบูรณาการทรัพยากรร่วมกันในการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นอย่างยั่งยืน สอดรับกับสถานการณ์ปัจจุบันให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ เพื่อสร้างและพัฒนาความร่วมมือทางวิชาการในการพัฒนาบุคลากรที่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนท้องถิ่น โดยดําเนินการจัดสัมมนา ฝึกอบรม บริการงานวิจัย การบริการให้คําปรึกษา อันเป็นการให้บริการวิชาการ ส่งเสริมศักยภาพและการสร้างมาตรฐานคุณภาพทางวิชาการ แก่ชุมชนท้องถิ่น แลกเปลี่ยนข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการทํางานให้เกิดประสิทธิภาพ และ ประสิทธิผลสูงสุด
ส่วน ดร.วัฒนา รัตนพรหม คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย เปิดเผยว่า ในนามของคณะทํางานโครงการเครือข่ายความร่วมมือ คณะทํางานของทั้ง 2 ฝ่ายได้ร่วมกันแสวงหาแนวทางในการทํางานร่วมกันเพื่อมุ่งสู่เป้าหมายในการ พัฒนาบุคลากรในองค์กรชุมชนบนฐานวิชาการ จึงได้มีการประชุมร่วมกันในวันที่ 23 กรกฎาคม 2561 และ นําไปสู่การประชุมเชิงปฏิบัติการวิเคราะห์ความต้องการจําเป็น ในการพัฒนาบุคลากรและส่วนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหาและพัฒนาชุมชนท้องถิ่น ในวันที่ 6 สิงหาคม 2561 จากนั้น คณะทํางานของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ได้ประชุมเชิงปฏิบัติการวิเคราะห์ความต้องการจําเป็นยกร่างเป็นหลักสูตรต่าง ๆ อีก 2 ครั้ง นอกจากนั้นแล้ว ยังมีการประชุมเชิงปฏิบัติการสอบทานและวิพากษ์ร่างหลักสูตรที่ยกร่างขึ้น โดยผู้แทนขบวนการชุมชน ซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียโดยตรง จากนั้นคณะทํางานได้มีประชุมเชิงปฏิบัติการ การปรับปรุงร่างหลักสูตรตามข้อเสนอแนะผลจากการดําเนินการดังกล่าว ได้ร่างหลักสูตร 3 กลุ่มหลักสูตรได้แก่ กลุ่มสังคม การเมืองและวัฒนธรรม กลุ่มเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมชุมชน และกลุ่มการใช้เทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น
เทพพิทักษ์ ยศหมึก ข่าว
สมยศ นุ่นจำนงค์ ภาพ
ฝ่ายสื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
{AdmirorGallery}news-evens/2018-08-31-mou-Course{/AdmirorGallery}