มรส.หนุนชาวบ้านผลิตสื่อโปรโมทการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมชุมชนเสวียด
นักศึกษาสาขานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฏร์ธานี ลงพื้นที่ตำบลเสวียด อำเภอท่าฉาง จังหวัดสุราษฎร์ธานี เพื่อศึกษาเรียนรู้ความเป็นอยู่รวมถึงอาหารและวัฒนธรรมที่มีมาแต่โบราณ ของชุมชนเสวียด
ดร.ปิยตา นวลละออง ประธานสาขาวิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฏร์ธานี กล่าวว่า ทางสาขาได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการสร้างองคืความรู้จากนอกห้องเรียน โดยเปิดโอกาสให้นักศึกษาสาขาวิชานิเทศศาสตร์ได้ลงพื้นที่จริง ศึกษาข้อมูล ศึกษาปัญหาในการประชาสัมพันธ์ให้กับชุมชน เพื่อเป็นการจุดประกายความคิดริเริ่มที่สร้างสรรค์จากนอกห้องเรียน ได้เห็นปัญหาและลงมือแก้ไขปัญหาจากสถานการจริง
นายสุนทร คงเทพ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 9 ตำบลเสวียด เปิดเผยว่า การลงพื้นที่ของนักศึกษาสาขานิเทศศาสตร์ในครั้งนี้ชุมชนได้รับความรู้ในการส่งเสริมวัฒนธรรมท้องถิ่น ที่สามารถนำกลับไปใช้การสื่อสารจากการทำคลิปแนะนำชุมชน ส่งเสริมให้เกิดการท่องเที่ยวของชุมชนของผู้ที่มีความสนใจ นอกจากนี้ในชุมชนยังมีการทำ”ขนมจั้ง” ซึ่งมีเอกลักษณ์ทางรสชาติที่โดดเด่น มีความหอมของน้ำผึ้งโตนด สดใหม่ ผ่านกระบวนการผลิตจากคนในชุมชนช่วงงานบวช งานบุญ หรืองานแต่งมาโดยตลอด
นางสาวเยาวภา สถาพร นักศึกษาสาขาวิชานิเทศศาสตร์ ประชาสัมพันธ์ เล่าถึงการลงชุมชนเสวียดว่า ชาวบ้านในชุมชนได้ร่วมกันถ่ายทอดความรู้ในการทำ”ขนมจั้ง” ตั้งแต่กระบวนการทำข้าวเหนียว วิธีการห่อไปจนถึงการต้มกับกระทุ้งÂÂÂ ตลอดจนแนะนำเคล็ดลับความอร่อยฉบับชุมชนเสวียด นอกจากนี้ ชุมนุมเสวียด ยังมีวัฒนธรรมดั้งเดิมที่สืบทอดกันมารุ่นต่อรุ่น ถือว่าเป็นเรื่องแปลกใหม่ของคนรุ่นใหม่คือ ประเพณีชักพระบกโบราณ เป็นการชักเรือพระผ่านทุ่งนาโคลน การชักพระบกโบราณจะมีขึ้นทุกปีในช่วงเดือนพฤษภาคมโดยจะเริ่มชักตั้งแต่วัดประตูใหญ่ไปบรรจบที่วัดท่ามีระยะทางประมาณ 5 กิโลเมตร ระหว่างทางจะมีชาวบ้านมาช่วยกันชักเรือพระ มีการหยอกล้อ มีการจับสาวโยนโคลน นอกจากนี้ยังมีการจัดงานรื่นเริ่งกันถึง 9 วัน 9 คืนอีกด้วย
นางสาว ปริยากร เข็มแดง นักศึกษาสาขาวิชานิเทศศาสตร์ ประชาสัมพันธ์ อธิบายถึงขนมจั้งเสวียดว่า เป็นขนมพื้นบ้านปักษ์ใต้ชนิดหนึ่ง เป็นการอาศัยภูมิปัญญาชาวบ้านทำจากข้าวเหนียวเขี้ยวงู ผสมน้ำด่างรสเค็มที่ทำจากขี้เถ้างวงตาลเผาไฟแช่น้ำทิ้งไว้ 3 วัน ใช้เทคนิคความชำนาญห่อเม็ดข้าวเหนียวร่วนๆด้วยใบมะพร้าวยอดอ่อนพอหลวมๆ มัดด้วยเชือกจากต้นกล้วยพองลา นำไปต้มน้ำในปี๊บก่อไฟไม้ฟืนราว 2-3 ชั่วโมงการรับประทานให้ปอกเปลือกออก นำเนื้อขนมจุ่มลงในน้ำผึ้งต้นโตนด ตัวขนมจะมีเนื้อนิ่ม กลมกล่อม ไม่มีรสขม โดยกรรมวิธีโบราณดังกล่าวจัดทำมาเพื่อถวายแด่พระสงฆ์ เหลือแบ่งปันรับประทานในหมู่เครือญาติ เพื่อนบ้านและแขกต่างถิ่นในงานบุญประเพณีท้องถิ่น
เทพพิทักษ์ ยศหมึก รายงาน
เยาวภา สถาพร ข่าว
ธาราศักดิ์ แก้วรัตน์ ภาพ
ฝ่ายสื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
{AdmirorGallery}news-evens/2019-03-13-Promote-tourism{/AdmirorGallery}