มนุษยศาสตร์ฯ มรส. ผนึกกำลัง อบจ.สฎ. คิดหลักสูตร 3 ภาษาผลักดัน ร.ร. เครือข่าย เชื่อมโยงการใช้สื่อการเรียนการสอนทุกมิติ
วันนี้ (23 มิ.ย. 64) ณ ห้องประชุมอินทนิล คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ สุราษฎร์ธานี (มรส.) ผศ.ธาตรี คำแหง คณบดี พร้อมด้วยคณะผู้บริหารคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มรส. ร่วมประชุมแนวทางการออกแบบหลักสูตรการเรียนการสอน 3 ภาษา โดยใช้รูปแบบการสอน on-line ให้กับโรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานีและบุคคลทั่วไปที่มีความสนใจ โดยมีดร.ปรเมษฐ์ จินา รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นประธานในการประชุม พร้อมด้วยผู้อำนวยการโรงเรียนในสังกัดองค์บริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี
.
ซึ่งในโอกาสนี้ ดร.ปรเมษฐ์ จินา รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้กล่าวขอบคุณ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ที่เข้าร่วมให้กับสนับสนุนขับเคลื่อนการออกแบบหลักสูตรการเรียนการสอน 3 ภาษา โดยใช้รูปแบบการสอน on-line ให้กับโรงเรียนในสังกัดองค์บริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี ด้วยการนำเทคโนโลยีมาใช้พัฒนาจัดการศึกษา พร้อมพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้ดีขึ้น ประกอบกับสถานการณ์ในปัจจุบัน ประเทศไทยกำลังประสบกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ทำให้สถานศึกษาต้องปิดเรียนด้วยเหตุสุดวิสัยจึงไม่สามารถเปิดภาคเรียนได้ตามปกติ เพราะการศึกษาเป็นองค์ประกอบสำคัญในการพัฒนาประเทศ และเป็นรากฐานของการการพัฒนาคน ให้มีความรู้ความสามารถ ในการพัฒนาประเทศสู่อนาคต
.
ด้าน ผศ.ธาตรี คำแหง คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ กล่าวว่า การออกแบบหลักสูตรการเรียนการสอน 3 ภาษา โดยใช้รูปแบบการสอน on-line ให้กับโรงเรียนในสังกัดองค์บริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี ทางคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มีอาจารย์และบุคลากรที่มีศักยภาพในการจัดหลักสูตรการเรียนการสอนด้านภาษา และมีพร้อมด้านเทคโนโลยี เช่น ห้อง Smart Class Room ที่เสริมสร้างการเรียนรู้และเชื่อมโยงการใช้สื่อการเรียนการสอนให้เกิดประโยชน์สูงสุด และวางแผนนโยบายด้านการพัฒนาการศึกษาภายในจังหวัดและร่วมกันขับเคลื่อน การพัฒนาครู การพัฒนานักเรียน ตลอดการพัฒนาสื่อการเรียนการสอน เพื่อต่อยอดการศึกษาของนักเรียนในชุมชนท้องถิ่น ผลักดันคุณภาพการศึกษา สร้างการเรียนรู้โลก เรียนรู้ชีวิต พร้อมปูพื้นฐานการเป็นวิศวกรสังคม 4 ประการ คือ 1. เป็นผู้มีความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์เชื่อมโยงเหตุและผลของปัญหาได้ 2. เป็นผู้มีความสามารถด้านการสื่อสารถ่ายทอดองค์ความรู้ตามศาสตร์สู่ประชาชนในชุมชนได้ 3. เป็นผู้มีความสามารถด้านการทำงานร่วมกันกับผู้อื่นได้โดยปราศจากข้อขัดแย้ง และ 4. เป็นผู้ที่มีทักษะด้านการสร้างนวัตกรรมตามองค์ความรู้ เพื่อนำไปแก้ไขปัญหาให้กับชุมชนท้องถิ่นได้จริง
.
นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี เปิดโอกาสด้านการศึกษาให้แก่นักเรียนและคณะครูโรงเรียนต่างๆ ที่สนใจเข้ามาเยี่ยมชมสื่อการเรียนการสอน ตลอดอาคารภายในมหาวิทยาลัย เพื่อเป็นการสร้างเสริมและผลักดันการเรียนรู้ก่อนเข้ารับการศึกษาต่อตามศาสตร์ความสนใจของผู้เรียนต่อไป
.
นายอดิสรณ์ เนาวโคอักษร นักประชาสัมพันธ์ ภาพ/ข่าว
#สื่อสารองค์กรมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี