มรส.ร่วมกับ วช.ยกระดับระบบจัดการความปลอดภัย ลดความเสี่ยงในห้องปฏิบัติการ ภาคใต้
วันนี้(2 ต.ค.62)มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฏร์ธานี(มรส.) โดยสถาบันวิจัยและพัฒนา ร่วมกับสํานักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ(วช.) โครงการมหาวิทยาลัยแม่ข่ายด้านมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการภาคใต้ จัดอบรมการพัฒนาระบบบริหารจัดการความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ มาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ ตามโครงการมหาวิทยาลัยแม่ข่ายด้านมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการเพื่อการยกระดับความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการย่อมส่งผลให้เกิดความ ปลอดภัยต่อผู้ที่ปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการ ลดความเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายในรูปแบบต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น ณ ห้องปัญญาวิทย์ ชั้น 2 อาคารคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฏร์ธานี
ผศ.ดร.วัฒนา รัตนพรหม รักษาราชการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฏร์ธานี ประธานในพิธีเปิดการอบรม กล่าวว่า ปัจจุบันมีห้องปฏิบัติการกระจายอยู่ในมหาวิทยาลัยเป็นจํานวนมาก ทั้งที่ใช้เพื่อการศึกษาวิจัย การเรียนการสอน และการ บริการวิชาการ ซึ่งห้องปฏิบัติการดังกล่าวจํานวนหนึ่งยังไม่มีระบบในการดูแลความปลอดภัยของผู้ที่ปฏิบัติงานที่ดี หรืออาจจะมีระบบในการบริหารจัดการอยู่แล้วแต่ยังไม่ทราบว่า ห้องปฏิบัติการมีระดับความปลอดภัยอยู่ในระดับใด โดยผู้ที่มีบทบาทสําคัญในการยกระดับ ความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการคือผู้ที่ปฏิบัติงานอยู่ในห้องปฏิบัติการ ซึ่งการดําเนินการเพื่อให้ห้องปฏิบัติการมีระดับความปลอดภัยที่ดีนั้นผู้ปฏิบัติงานย่อมต้องมีความรู้ในเรื่องที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นแนวปฏิบัติที่ดี หรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้เมื่อมีความรู้ในเรื่องดังกล่าวก็จะทําให้สามารถดําเนินการได้อย่างถูกต้อง
ด้าน รศ.ดร.ก้าน จันทร์พรหมมา ประธานคณะกรรมการเครือข่ายวิจัยภูมิภาคภาคใต้ เปิดเผยว่า ในปี พ.ศ.2559-2563 สํานักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ได้ดําเนินการการในการส่งเสริมความปลอดภัย ห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวกับสารเคมีและทําการขับเคลื่อนอย่างต่อเนื่อง โดยในเครือข่ายระดับ ภูมิภาค ภาคใต้ มี มหาวิทยาลัยแม่ข่าย 2 แห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ และ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ซึ่ง แต่ละมหาวิทยาลัยแม่ข่ายรับผิดชอบในการยกระดับ ห้องปฏิบัติการของมหาวิทยาลัยลูกข่ายดังนี้ มหาวิทยาลัยแม่ข่าย มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ รับผิดชอบ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี และมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต และมหาวิทยาลัยแม่ข่ายมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ รับผิดชอบ มหาวิทยาลัยทักษิณ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย มหาวิทยาลัยฟาฏอนี และ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ โดยในการดําเนินงานของมหาวิทยาลัยแม่ข่ายทั้ง 2 แห่ง จะเป็นการดําเนินงานให้การอบรมเกี่ยวกับการลงทะเบียนห้องปฏิบัติการและวิธีการประเมินความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการดังกล่าวโดยกรอกข้อมูลลงใน Check Lists ในระบบ ESPReL เพื่อทําการสํารวจและประเมินสภาพความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ และยกระดับความปลอดภัยของ ห้องปฏิบัติการต่อไป
ส่วน ดร.สุทธิสา ยาอีด อาจารย์ประจำสาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ กล่าวว่า การปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการไม่ว่าจะเป็นเพื่อการเรียนการสอน หรือการวิจัย ย่อมมีความเสี่ยงในด้านต่างๆ เช่นอันตราย ทางด้านกายภาพ เคมี และ ชีวภาพ ดังนั้นหากผู้ปฏิบัติงานไม่มีความรู้หรือไม่มีประสบการณ์ในการจัดการเหตุอันตรายใน กรณีเกิดเหตุฉุกเฉินแล้วนั้น ก็จะส่งผลให้เกิดอันตรายและมีความเสี่ยงต่อความปลอดภัยของ ผู้ปฏิบัติงาน นอกจากนี้ยังส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมที่อยู่ใกล้บริเวณที่ตั้งของ ห้องปฏิบัติการด้วย ทางสํานักงานการวิจัยแห่งชาติ จึงได้มีนโยบายที่จะทําเกิดการจัดการความปลอดภัยขึ้นในห้องปฏิบัติการ โดยได้ดําเนินงานโครงการยกระดับมาตรฐานความปลอดภัย ห้องปฏิบัติการวิจัยในประเทศ เพื่อส่งเสริมให้นักวิจัยเกิดความตระหนักเรื่องความปลอดภัย การสร้างบรรยากาศและสภาพแวดล้อมต่างๆ ตลอดจนการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรทุก ระดับที่เอื้อให้เกิดการพัฒนาเรื่องนี้อย่างจริงจังและต่อเนื่อง
เทพพิทักษ์ ยศหมึก ข่าว/ภาพ
ฝ่ายอสารองค์กร มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราาฎร์ธานี
{AdmirorGallery}news-evens/01-2019-news/2019-10-02-prevent{/AdmirorGallery}