มรส. ร่วมฟื้นฟูสืบสานพันธุ์ข้าวหอมไชยาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ร่วมฟื้นประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่นจัดพิธีการทำขวัญข้าวÂÂ สมโภชแม่โพสพ และการลงแขกปักดำนา การทำนาข้าวแบบเกษตรอินทรีย์ การกำจัดศัตรูพืชและกำจัดแมลงโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยมีหัวหน้าส่วนราชการ กลุ่มวิสาหกิจอนุรักษ์พันธุ์ข้าวหอมไชยา คณาจารย์นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ผู้นำท้องถิ่นและผู้นำท้องที่หอการค้า นักเรียนจากโรงเรียนบ้านสามสักและชุมชน ได้ร่วมลงแขกปักดำนา ศึกษาวิถีชุมชนชาวนาและชมนิทรรณการข้าวหอมไชยาและชิมอาหารที่ประดิษฐ์และแปรรูปจากข้าวหอมไชยา ในโครงการ สืบสานพันธุ์ข้าวหอมไชยาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ณ ศาลาประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 2 ตำบลโมถ่าย อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี
นาย เจริญศักดิ์ วงศ์สุวรรณ นายอำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี ข้าวหอมไชยาเป็นที่ต้องการและรู้จัก จากผู้บริโภคมากขึ้น จากการร่วมสนับสนุนจากทุกภาคส่วน ทั้งทางวิชาการจากมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี หอการค้าจังหวัดสุราษฎร์ธานี และส่วนราชการในอำเภอไชยาและส่วนราชการในระดับจังหวัด เป็นที่น่ายินดีอย่างยิ่งและเป็นที่น่าภาคภูมิใจที่ ส่วนราชการและมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ได้ร่วมสืบสานพันธุ์ข้าวหอมไชยา เป็นการสนองโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาๆ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.)
ด้าน อาจารย์ธิติ พานวัน อาจารย์ประจำสาขานวัฒกรรมเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี กล่าวว่ามหาวิทยาลัย มีแผนงานในการพัฒนาข้าวหอมไชยาอย่างเป็นรูปธรรม ไม่ว่าจะเป็นการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ชุมชนภูมิปัญญาข้าวหอมพันธุ์ไซยา การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาภูมิปัญญาข้าวหอมพันธ์ไชยา อ.ไชยา รวบรวมเรื่องเล่าข้าวหอมพันธุ์ไชยา เป็นทั้งภาคภาษาไทยและภาษาอังกฤษ การปลูกข้าวหอมไชยาอินทรีย์ และการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ข้าวหอมไชยา เป็นที่น่ายินดีอย่างยิ่งที่ชาวห้อมไขยาได้รับการับรองมาตรฐานชาว GAP มีการปลูกข้าวตามระบบการปฏิบัติที่ถูกต้องและเหมาะสม
ส่วน นางยินดี เรืองฤทธิ์ ประธานอนุรักษ์พันธุ์ข้าวหอมไชยา กลุ่มวิสาหกิจอนุรักษ์พันธุ์ข้าวหอมไชยา เปิดเผยว่าต่อจากนี้ไป ผู้บริโภคจะได้บริโภคข้าวหอมพันธ์ไชยา จากพันธุ์ข้าวไชยาที่ปลูกในอำเภอไชยา การดำเนินกิจกรรมโครงการต่าง ๆ ล้วนเป็นกิจกรรมที่ดี ที่จะสร้างชื่อเสียงและสร้างอัตลักษณ์ที่สำคัญแก่อำเภอไชยา จึงเป็นเรื่องที่ดี สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของจังหวัดตามโครงการ ไชยาโมเดล ที่ต้องกาสิ่งเสริมให้อำเภอไชยาเป็นพื้นที่เพื่อการท่องเที่ยวชุมชนเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม หากมีการอนุรักษ์และพัฒนาข้าวหอมพันธ์ไชยาได้ จะส่งผลดีกับการท่องเที่ยว และยังเป็นจุดขายต่อนักท่องเที่ยวที่จะเข้ามาท่องเที่ยวในอำเภอไชยาต่อไป
ข้าวหอมไชยา เป็นพันธุ์ข้าวพื้นเมืองที่ปลูกเฉพาะถิ่นในพื้นที่อำเภอไชยา มีประวิติศาสตร์ ประเพณีและวัฒนธรรมตลอดทั้งเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง ที่ปลูกมานานเกือบ 100 ปี ตั้งแต่ พ.ศ.2468 ซึ่งเป็นที่ราบลุ่มอุดมสมบูรณ์ปลูกข้าวได้งอกงาม เนื่องจากมีน้ำจากคลองไชยา ไหลผ่านตลอดปี มีลักษณะเด่นคือ หอมไปทั่วทุ่ง แตกต่างจากข้าวทั่วไปจนเป็นที่เล่าขานกันว่า “เวลาออกรวงหอมไปทั่วทุ่ง เวลาหุงหอมไปทั่วบ้าน” แต่ปัจจุบัน พื้นที่ปลูกข้าวหอมไชยากลับลดลง ข้าวหอมไชยาแท้กำลังจะสูญหายเพราะปรับเปลี่ยนไปตามสภาพแวดล้อม เมล็ดพันธุ์ข้าวมีไม่เพียงพอในการปลูก
เทพพิทักษ์ ยศหมึก นักประชาสัมพันธ์ ข่าว
ปานเผด็จ นวนหนู ภาพ
งานสื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
{AdmirorGallery}news-evens/01-2020-news/2020-07-14-rice{/AdmirorGallery}