มรส.เตรียมการพลิกโฉมมหาวิทยาลัยภายใต้แนวคิด“วิศวกรสังคม”
วันนี้(20 ก.ค.63) มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ร่วมต้อนรับ ศ.ดร. ศุภชัย ปทุมนากุล รองปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ในการประชุมสัมมนาวิชาการ “สร้างความรู้ความเข้าใจในการปรับบทบาทมหาวิทยาลัยเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจสังคม และชุมชนในพื้นที่ภาคใต้ เพื่อชี้แจงแนวทางการบริหารพร้อมมอบนโยบายเรื่อง “กรอบนโยบายการขับเคลื่อนโครงการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย” โครงการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย ณ ห้องเฟื้องฟ้า อาคารสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
ศ.ดร.ศุภชัย ปทุมนากุล รองปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กล่าวว่า ด้วยพลังพลังของบัณฑิต ของนักศึกษา พลังของเยาวชน พลังของประชาชน ซึ่งจะเป็นผู้กำหนดอนาคตประเทศ สิ่งสำคัญของโลกหลังโควิดคือการสร้างความเข้มแข็งจากภายในก่อนเชื่อมโยงไปยังประชาคมโลก โดยใช้เศรษฐกิจฐานราก เพราะฉะนั้นมหาวิทยาลัยซึ่งถือเป็นกำลังหลักในการขับเคลื่อนประเทศไปข้างหน้า พลังของอาจารย์ นิสิต นักศึกษา และบัณฑิตจะเป็นพลังที่ขับเคลื่อนประเทศอย่างแท้จริง ถือเป็นโอกาสครั้งสำคัญที่จะเปลี่ยนวิกฤติเป็นโอกาส คือการใช้พลังของมหาวิทยาลัยที่มีอยู่ทั่วประเทศทำในเรื่องเศรษฐกิจฐานราก นี่คือการนำศักยภาพของบัณฑิตออกมาผ่านการจ้างงาน ที่กำลังสร้างให้เกิดบัณฑิตติดถิ่น เพื่อให้รู้สึกว่าสิ่งที่เรียนมาสามารถที่จะทำประโยชน์ให้พื้นที่ของเขาได้
ผศ.ดร.วัฒนา รัตนพรหม รักษาราชการแทนอธิการบดี กล่าวว่า มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี เป็นมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ที่มีการสร้างระบบแนวคิดแบบใหม่ในการพัฒนชุมอย่างยั่งยืน โดยใช้ทรัพยากรในชุมชนให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทางมหาวิทยาลัยมีแนวคิดในการปรับชุมชนเป็นห้องเรียน เปลี่ยนบัณฑิตราชภัฏเป็นวิศวกรสังคม ซึ่งคำว่าวิศวกรสังคม นั้น จะสร้างให้นักศึกษามีการวิเคราะห์เป็นระบบและสามารถลงพื้นที่ใชุมชนสร้างความเชื่อมโยงต่อชุมชน เพื่อตอบสนองความต้องการบุคลากรในการพัฒนาประเทศ โดยมีคุณลักษณะหลัก 4 ประการ คือ 1. นักศึกษาต้องมีทักษะในการวิเคราะห์ เห็นความเชื่อมโยงระหว่างเหตุและผล เห็นปัญหาเป็นเรื่องท้าทาย 2. คือการนำความรู้ที่เรียนไปใช้ประโยชน์ให้กับชุมชนได้อย่างไร สามารถสื่อสารองค์ความรู้ที่เรียนเพื่อนำไปแก้ปัญหาให้กับชุมชนได้ 3.คือการทำงานร่วมกับผู้อื่นโดยปราศจากข้อขัดแย้งสามารถที่จะระดมกำลังไม่ว่าจะภายในท้องถิ่นหรือนอกท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่นได้ และ 4. คือต้องมีทักษะในการสร้างนวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหาให้กับชุมชนท้องถิ่นได้
จากผลกระทบของสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส COVID -19 ส่งผลให้เกิดการตกงาน ประชาชนได้รับความเดือดร้อนในทุกระดับ กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จึงดําเนินโครงการจ้างงานประชาชนผู้ ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ดังกล่าว พร้อมการบูรณาการ ผสานองค์ความรู้ สู่การสร้างนวัตกรรม เพื่อการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นอย่างยังยืน เน้นการสร้างคนให้เป็น “วิศวกรสังคม” โดยมีแผนการขับเคลื่อนให้ประชาชนลงพื้นที่เป็นวิศวกรสังคมอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งได้ มีการดำเนินงานโครงการจ้างงานประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรั COVID-19 อันเป็นความร่วมมือระหว่าง กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และ นวัตกรรม หรือ อว. และมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี พร้อมหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีให้เกิดการจ้างงาน สร้างสร้างอาชีพ และสร้างรายได้ในพื้นที่
นายอดิสรณ์ เนาวโคอักษร นักประชาสัมพันธ์ ถ่ายภาพ
นายสมยศ นุ่นจำนงค์ ถ่ายภาพ
นายเทพพิทักษ์ ยศหมึก นักประชาสัมพันธ์ ข่าว
#สื่อสารองค์กรมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
{AdmirorGallery}news-evens/2020-07-20-ministry-scince{/AdmirorGallery}