นักวิจัย มรส. ลงพื้นที่บ้านท่าเคย ยกระดับศักยภาพกลุ่มแปรรูปกะปิท่าเคย
ทีมนักวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี(มรส.) ลงพื้นที่กลุ่มกะปิท่าเคย ในการวิเคราะห์ทุนชุมชน เพื่อระดมสมองด้วยวิธีการประชุมกลุ่มย่อยและสัมภาษณ์เชิงลึก และออกแบบพัฒนาหลักสูตรส่งเสริมอาชีพโดยชุมชนเป็นฐาน ภายใต้กระบวนการมีส่วนร่วม ในโครงการพัฒนากระบวนการเรียนรู้สู่การส่งเสริมอาชีพโดยชุมชนเป็นฐาน ต.ท่าเคย อ.ท่าฉาง จ.สุราษฎร์ธานี เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2563 ที่ผ่านมา
ดร.นรา พงษ์พานิช ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา มรส. เปิดเผยว่า โครงการพัฒนากระบวนการเรียนรู้สู่การส่งเสริมอาชีพ ของกองทุนเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.)โดยใช้เครื่องมือในการศึกษาค้นหา ได้แก่ 1. เส้นเวลาประวัติศาสตร์ชุมชนบ้านท่าเคย 2.เส้นเวลากระบวนการผลิตภัณฑ์ชุมชนบ้านท่าเคย 3. การวิเคราะห์ต้นทุนชุมชน เพื่อหาต้นแบบผลิตภัณฑ์ชุมชนบ้านท่าเคย ภายใต้แบบมีส่วนร่วม โดยมีกลุ่มเป้าหมาย คือ ประชาชน ม.2, 6 และ 9 ต.ท่าเคย ซึ่งมีอาชีพทำประมงพื้นบ้าน, ผลิตกะปิ และอาชีพอื่นอันเกี่ยวเนื่องกับการนำผลผลิตจากแหล่งอาหารทะเล มาพัฒนาให้เกิดผลิตภัณฑ์อาหารเพิ่มมูลค่า เช่น การผลิตกะปิท่าเคย การทำกุ้งแก้ว กุ้งแห้ง น้ำเคย เป็นต้น
จากนั้นได้ร่วมกันเสนอปัญหา และความต้องการของชุมชน ที่ขาดปัจจัยในการผลิต เช่น นวัตกรรมต่างๆ ที่ใช้ในการผลิต ทักษะความรู้ด้านพัฒนาผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ การตลาด การบริหารจัดการเศรษฐกิจชุมชน เพื่อยกระดับสินค้าให้มีคุณภาพที่สูงขึ้น เป็นต้น ตลอดถึงการมีข้อเสนอด้านกฎหมายทางทะเล ให้ประชาชนได้มีความรู้ จะได้นำไปใช้ในชีวิตประจำวัน
สถาบันวิจัยและพัฒนา มรส. ภาพ/ข้อมูล
เทพพิทักษ์ ยศหมึก นักประชาสัมพันธ์ รายงาน
งานสื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
{AdmirorGallery}news-evens/01-2020-news/2020-12-13-rally{/AdmirorGallery}