มรส.ลงพื้นที่บริการวิชาการ บ้านห้วยเสียด อ.ดอนสัก ส่งเสริม ป้องกัน รักษา พื้นฟูสุขภาพของเกษตรกรชุมชน
วันนี้(17 มิ.ย. 65) ที่ชุมชนบ้านห้วยเสียด อำเภอดอนสัก จังหวัดสุราษฎร์ธานี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี(มรส.) จัดโครงการส่งเสริม ป้องกัน รักษา พื้นฟูสุขภาพของเกษตรกรชุมชนบ้านหัวยเสียด อำเภอดอนสัก จังหวัดสุราษฎร์ธานี ภายใต้สถานการณ์ COVID-19 โดยจัดขึ้นในวันที่ 6, 8,13 และ 17 มิถุนายน 2565 ให้กับประชาชนกลุ่มเกษตรกร ซึ่งเป็นแรงงานหลักของประเทศที่ส่งผลโดยตรงต่อเศรษฐกิจของไทยในด้านผลผลิตทางการเกษตรที่ส่งออกไปยังต่างประเทศ เพื่อสร้างรายได้มาเป็นเวลานาน ซึ่งนำทีมโดยอาจารย์ปานชนม์ โชคประสิทธิ์ อาจารย์สุรชัย สังข์งาม อาจารย์ศันสนีย์ วงศ์ชนะ ผศ.ดร.ภควดี รักษ์ทอง ผศ.กามีละห์ ยะโกะ และ ผศ.ดร.จิรวัฒน์ มาลา เป็นคณะดำเนินงานโครงการ พร้อมทั้งมีนายสุนทร สอาดฤทธิ์ รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลดอนสัก เป็นประธานในพิธีปิดโครงการ และมี นายอรุณ หนูขาว ผู้อำนวยการโครงการจัดตั้งกองบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น ลงพื้นที่ในการบริการวิชาการในครั้งนี้
:
อาจารย์ปานชนม์ โชคประสิทธิ์ อาจารย์สาขาวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มรส. กล่าวว่า โครงการส่งเสริมป้องกันรักษาพื้นฟูสุขภาพของเกษตรกรชุมชนบ้านห้วยเสียด อำเภอดอนสัก จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นการให้ความรู้การดูแลสุขภาพ ตรวจสมรรถภาพร่างกาย ตาม OPD cardsและฝึกทำลูกประคบ เรียนรู้สมุนไพร ประกวดการทำลูกประคบ พร้อมทั้งออกกำลังกายยางยืด หลากสีให้การรักษาทางกายภาพบำบัด โดยนักกายภาพวิชาชีพอุปกรณ์ครบครัน ร่วมกับการให้ Home program เรื่อง การดูแลตนเองสำหรับเกษตรกรรวมถึงการนวดกล้ามเนื้อเพื่อบรรเทาอาหารปวดจากการทำงาน ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีการส่งเสริม ป้องกันรักษา ฟื้นฟูสุขภาพของเกษตรกร ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ชุมชนท้องถิ่น และมีกิจกรรมให้ทุกคนนำสมุนไพรภูมิปัญญาชาวบ้านมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ นำเสนอเป็นกลุ่ม มีวิทยากรและอาจารย์เป็นพี่เลี้ยงประจำทีม
:
ด้านนายอรุณ หนูขาว ผู้อำนวยการโครงการจัดตั้งกองบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น กล่าวว่า มรส.ลงพื้นที่บริการวิชาการ โครงการส่งเสริม ป้องกัน รักษา พื้นฟูสุขภาพของเกษตรกรชุมชนบ้านหัวยเสียด อำเภอดอนสัก จังหวัดสุราษฎร์ธานี ภายใด้สถานการณ์ COVID-๑๙” ซึ่งเป็นโรคระบาดที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อในบุคคลที่มีสุขภาพร่างกายอ่อนแอ ซึ่งส่งผลกระทบทั้งด้านร่างกายและจิตใจ ทั้งนี้ การออกกำลังกายการยึดกล้ามเนื้อบรรเทาอาการปวดของกล้ามเนื้อ รยางค์ส่วนบน รยางค์ส่วนล่าง แกนกลางลำตัวและให้การรักษาทางกายภาพบำบัด ร่วมกับการให้ Home program เรื่อง การดูแลตนเองสำหรับเกษตรกรรวมถึงการนวดกล้ามเนื้อเพื่อบรรเทาอาหารปวดจากการทำงาน ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีการส่งเสริม ป้องกันรักษา ฟื้นฟูสุขภาพของเกษตรกร ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ชุมชนท้องถิ่น เพื่อให้ทุกคนที่เข้าร่วมโครงการเกิดความรู้ความเข้าใจในการดูแลตนเองจากอาการปวดกล้ามเนื้อระยะยาว อีกทั้งยังช่วยลดคำใช้จ่ายในการเดินทางไปพบแพทย์ คำใช้จ่ายในการรักษา ลตปัญหาทางสาธารณสุข ลดอัตราการเจ็บป่วยในอนาคต อีกทั้งยังเป็นการดูแสประชาชนในเขตพื้นที่ของมหาวิทยาลัยราชกัฏสุราษฎร์ธานี
:#สื่อสารองค์กรมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
#SRUHealthCare
#ใครไม่แคร์SRUแคร์
นายอดิสรณ์ เนาวโคอักษร ถ่ายภาพ/เขียนข่าว