เมื่อเร็วๆนี้ คณะทำงานบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี นำโดย ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ พร้อมด้วย อาจารย์ธาตรี คำแหง กรรมการสภามหาวิทยาลัย ผศ.เตชธรรม สังข์คร และอาจารย์จุฑารัตน์ ธาราทิศ ผู้เชี่ยวชาญด้านบรรจุภัณฑ์ จากคณะวิทยาการจัดการ ดร.พงษ์ศักดิ์ นพรัตน์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารจัดการขยะ จากคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้เดินทางไปยังตลาดนัดใต้เคี่ยม อำเภอละแม จังหวัดชุมพร เพื่อดำเนินการสำรวจและวิเคราะห์ความต้องการของชุมชนด้านการบริหารจัดการในมิติต่างๆ ซึ่งเป็นการดำเนินงานในระยะแรกตามโครงการสนับสนุนส่งเสริมการบริหารจัดการตลาดประชารัฐใต้เคี่ยม
ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี กล่าวว่า คณะทำงานงานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี และเครือข่ายพร้อมด้วย อ.ธาตรี คำแหง กรรมการสภามหาวิทยาลัย ลงพื้นที่ตลาดประชารัฐใต้เคี่ยมสำรวจปัญหาความต้องการของชุมชน เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตในทุกมิติ ส่งเสริมให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวอันดับต้นๆของจังหวัดชุมพร จากการได้ร่วมพูดคุยกับคณะกรรมการตลาดนัดใต้เคี่ยมได้ข้อสรุปว่า มหาวิทยาลัยจะดำเนินการใน 3 ประเด็นคือ 1. ดำเนินการพัฒนาคุณภาพชุมชนภายใต้หลักการ การคงอยู่ของวัฒนธรรมแบบดั้งเดิม 2. การออกแบบบรรจุภัณฑ์ของสินค้าที่วางจำหน่ายในตลาดใต้เคี่ยม 3. การบริหารจัดการขยะโดยวิธีการแยกขยะเพื่อต่อยอดในการแปรรูปเพิ่มมูลค่าต่อไป ซึ่งข้อมูลที่ทราบเบื้องต้นมีขยะไม่ต่ำกว่า 1 ตันต่อวัน
ด้าน นายนรินทร์ พันธ์เจริญ กำนันตำบลละแม อำเภอละแม จังหวัดชุมพร เผยถึงระบบการบริหารจัดการตลาดประชารัฐใต้เคี่ยมว่า จากเจตนารมณ์ที่แน่วแน่ในการช่วยยกระดับพัฒนาการบริหารจัดการชุมชนละแม และพื้นที่ในตลาดนัดใต้เคี่ยม ซึ่งทางคณะกรรมการ ได้ร่วมกันหาทิศทางที่ตรงกันกับทางมหาวิทยาลัยฯ ในการจัดทำรูปแบบบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมกับชนิดสินค้า และไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ที่สำคัญคือการบริหารจัดการขยะในตลาดและบริเวณใกล้เคียงซึ่งเป็นความต้องการในอันดับแรก เพราะผู้บริโภคหรือนักท่องเที่ยวที่ได้เข้ามาจับจ่ายสินค้ายังไม่มีความเข้าใจในการแยกขยะ และเสนอให้คณะทำงานจัดทำรายงานที่สะท้องถึงระบบและกลไกในการบริหารจัดการที่ถูกต้องเพื่อนำมาเป็นแนวทางการปฏิบัติร่วมกัน ในฐานะตัวแทนของคณะกรรมการและชาวชุมชนละแม ขอขอบคุณคณะทำงานจากมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีเป็นอย่างยิ่งที่ให้ความอนุเคราะห์ และแสดงความจริงจังจริงใจในการสนับสนุนส่งเสริมการทำงานของชุมชนทุกๆด้านและหวังว่าจะได้ร่วมกิจกรรมด้านอื่นๆกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีอย่างต่อเนื่อง
“ตลาดใต้เคี่ยม” เป็นตลาดนัดชุมชนในบรรยากาศวิถีพื้นบ้าน ซึ่งหลายคนเรียกตลาดแบบนี้ว่าตลาดย้อนยุค และสิ่งสำคัญที่ทำให้ตลาดแห่งนี้มีความโดดเด่นแตกต่างไปจากที่อื่น เพราะเป็นตลาดนัดที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ของดง“ต้นเคี่ยม”ต้นสูงใหญ่ร่มรื่นเขียวครึ้มราว 10 ไร่ ถือเป็นแนวร่มกันแดดตามธรรมชาติให้เดินจับจ่ายซื้อของและนั่งพัก นั่งกินของคนในชุมชนและนักท่องเที่ยวได้อย่างเพลิดเพลิน
ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี กล่าวว่า คณะทำงานงานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี และเครือข่ายพร้อมด้วย อ.ธาตรี คำแหง กรรมการสภามหาวิทยาลัย ลงพื้นที่ตลาดประชารัฐใต้เคี่ยมสำรวจปัญหาความต้องการของชุมชน เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตในทุกมิติ ส่งเสริมให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวอันดับต้นๆของจังหวัดชุมพร จากการได้ร่วมพูดคุยกับคณะกรรมการตลาดนัดใต้เคี่ยมได้ข้อสรุปว่า มหาวิทยาลัยจะดำเนินการใน 3 ประเด็นคือ 1. ดำเนินการพัฒนาคุณภาพชุมชนภายใต้หลักการ การคงอยู่ของวัฒนธรรมแบบดั้งเดิม 2. การออกแบบบรรจุภัณฑ์ของสินค้าที่วางจำหน่ายในตลาดใต้เคี่ยม 3. การบริหารจัดการขยะโดยวิธีการแยกขยะเพื่อต่อยอดในการแปรรูปเพิ่มมูลค่าต่อไป ซึ่งข้อมูลที่ทราบเบื้องต้นมีขยะไม่ต่ำกว่า 1 ตันต่อวัน
ด้าน นายนรินทร์ พันธ์เจริญ กำนันตำบลละแม อำเภอละแม จังหวัดชุมพร เผยถึงระบบการบริหารจัดการตลาดประชารัฐใต้เคี่ยมว่า จากเจตนารมณ์ที่แน่วแน่ในการช่วยยกระดับพัฒนาการบริหารจัดการชุมชนละแม และพื้นที่ในตลาดนัดใต้เคี่ยม ซึ่งทางคณะกรรมการ ได้ร่วมกันหาทิศทางที่ตรงกันกับทางมหาวิทยาลัยฯ ในการจัดทำรูปแบบบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมกับชนิดสินค้า และไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ที่สำคัญคือการบริหารจัดการขยะในตลาดและบริเวณใกล้เคียงซึ่งเป็นความต้องการในอันดับแรก เพราะผู้บริโภคหรือนักท่องเที่ยวที่ได้เข้ามาจับจ่ายสินค้ายังไม่มีความเข้าใจในการแยกขยะ และเสนอให้คณะทำงานจัดทำรายงานที่สะท้องถึงระบบและกลไกในการบริหารจัดการที่ถูกต้องเพื่อนำมาเป็นแนวทางการปฏิบัติร่วมกัน ในฐานะตัวแทนของคณะกรรมการและชาวชุมชนละแม ขอขอบคุณคณะทำงานจากมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีเป็นอย่างยิ่งที่ให้ความอนุเคราะห์ และแสดงความจริงจังจริงใจในการสนับสนุนส่งเสริมการทำงานของชุมชนทุกๆด้านและหวังว่าจะได้ร่วมกิจกรรมด้านอื่นๆกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีอย่างต่อเนื่อง
“ตลาดใต้เคี่ยม” เป็นตลาดนัดชุมชนในบรรยากาศวิถีพื้นบ้าน ซึ่งหลายคนเรียกตลาดแบบนี้ว่าตลาดย้อนยุค และสิ่งสำคัญที่ทำให้ตลาดแห่งนี้มีความโดดเด่นแตกต่างไปจากที่อื่น เพราะเป็นตลาดนัดที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ของดง“ต้นเคี่ยม”ต้นสูงใหญ่ร่มรื่นเขียวครึ้มราว 10 ไร่ ถือเป็นแนวร่มกันแดดตามธรรมชาติให้เดินจับจ่ายซื้อของและนั่งพัก นั่งกินของคนในชุมชนและนักท่องเที่ยวได้อย่างเพลิดเพลิน
เทพพิทักษ์ ยศหมึก ข่าว
อาซีด ทิ้งปากถ้ำ ภาพ
ฝ่ายสื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี