26 พ.ค. 2021

มรส.เดินหน้าเติมกำลัง ส่งวิศวกรสังคม 82 ตำบล จัดกิจกรรม U2T สู้ภัย COVID (U2T-COVID WEEK)

วันนี้(23 พ.ค. 2564 ) มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี(มรส.) กิจกรรม U2T สู้ภัย COVID (U2T-COVID WEEK) โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วัฒนา รัตนพรหม รักษาราชการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี เป็นประธานในพิธีเปิด ณ ศูนย์ประสานงานโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
:
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วัฒนา รัตนพรหม รักษาราชการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี กล่าวว่า ตามที่สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.)ได้จัดการประชุมหารือแนวทางการดำเนินกิจกรรมเพื่อแก้ปัญหาสถานการณ์โควิด-19เมื่อวันศุกร์ ที่ 14 พฤษภาคม 2564 ที่ผ่านมา ร่วมกับผู้บริหารของสถาบันอุดมศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 76 แห่งทั้วประเทศ ในพื้นที่ 3,000 ตำบล เพื่อให้การดำเนินกิจกรรมยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการของ U2T สอดคล้องกับสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่กำลังระบาดอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ได้รับผิดชอบพื้นที่ 3 จังหวัด ได้เเก่ จังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัดชุมพร และจังหวัดระนอง รวมทั้งสิ้น 82 ตำบล มหาวิทยาลัยเชื่อว่าทีมวิศวกรสังคมที่ได้รับการจ้างงานทุกท่านจะได้รับความรู้และประสบการณ์อย่างมากมาย จากกิจกรรม U2T สู้ภัย COVID (U2T-COVID WEEK) เพื่อนำไปรณรงค์ให้ประชาชนในพื้นที่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันการแพร่ระบาดจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จนมีความพร้อมที่จะปฏิบัติงานในพื้นที่เป้าหมาย และพร้อมร่วมกันยกระดับเศรษฐกิจและสังคมต่อไป
:
ดร.พลกฤต เเสงอาวุธ Project manager โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศมหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานี เปิดเผยว่า มหาวิทยาลัยได้ร่วมกับมหาวิทยาลัย 76 แห่งทั่วประเทศ จัดกิจกรรม U2T สู้ภัย COVIC (U2T- COVIC WEEK) ระหว่างวันที่ 23-28 พฤษภาคม 2564 ซึ่งมีกิจกรรมเชิงรุกเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของ COVIC- 19 บริเวณโรงเรียน ศาสนสถานและตลาด ประกอบด้วย 1.การจัดการพื้นที่ให้เหมาะสมตามมาตรการเฝ้าระวังการแพร่ระบาด COVIC- 19 2.การจัดหาอุปกรณ์ สเปรย์ล้างมือเพื่อฆ่าเชื้อโรค 3.การสอนทำอุปกรณ์ป้องกันตนเอง เช่น อุปกรณ์ป้องกันใบหน้า (Face Shield) 4.การรณรงค์ป้องกันจากการติดเชื้อและแพร่เชื้อ ได้แก่ การล้างมือ เว้นระยะห่าง และการสวมใส่หน้ากากอนามัย และมีการจัดกิจกรรมการให้ความรู้ ความเข้าใจ และการรณรงค์ให้เกิดการฉีดวัคซีนในพื้นที่รับผิดชอบของมหาวิทยาลัยทั้ง 82 ตำบล ให้เกิดการเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของ COVID-19 ประชากรในพื้นที่ มีความเข้าใจและลงทะเบียนเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันโรค COVID-19 ได้รับความรู้ วิธีการป้องกัน โอกาสจากการติดเชื้อ และแพร่เชื้อ COVID-19 โดยมีการร่วมมือกันทำความสะอาดพื้นที่ที่เป็นจุดเสี่ยงในแต่ละตำบล ตลอดจนมีความรู้ความเข้าใจ และสามารถจัดทำอุปกรณ์ในการป้องกันตนเองจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 อย่างมีประสิทธภาพ
.
ภาพ : บุญภา ย่าแหม่
ข่าว : ณัฐพงษ์ นามเพชร
เทพพิทักษ์ ยศหมึก นักประชาสัมพันธ์ พิสูจน์อักษร
อดิสรณ์ เนาวโคอักษร นักประชาสัมพันธ์ : รายงาน
#สื่อสารองค์กรมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี