28 เม.ย. 2022

มรส.ร่วมรายการ “แหลงข่าวชาวใต้” ประเด็นเรื่อง “ถอดบทเรียนโครงการ U2T ชุมชนท้องถิ่นได้อะไร” ทางทีวีดิจิตอล NBT South

วันนี้(28 เม.ย.65)เวลา 08.55 น. ดร.พลกฤต แสงอาวุธ รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์ Project manager โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ(U2T) มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี พร้อมด้วยผศ.ดร.เสน่ห์ บุญกำเนิด รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ วิจัยและนวัตกรรม อว.ส่วนหน้าจังหวัดสุราษฎร์ธานี ร่วมการสัมภาษณ์สดในรายการ “แหลงข่าวชาวใต้” ประเด็นเรื่อง “ถอดบทเรียนโครงการ U2T ชุมชนท้องถิ่นได้อะไร” ทางทีวีดิจิตอล NBT South ณ สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย NBT จังหวัดสุราษฎร์ธานี
:
ดร.พลกฤต แสงอาวุธ รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์ Project manager โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ(U2T) มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี เปิดเผยว่า การดำเนินงานโครงการ U2T ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ส่งผลให้ เกิดกระแสการเลือกกิน เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ชุมชน การท่องเที่ยวชุมชน และยังเป็นการหล่อหลอมจิตสำนึกด้านการรับใช้ชุมชน ประชาชนในพื้นที่ดำเนินงานของวิศวกรสังคม เกิดความภาคภูมิใจในพื้นที่เพราะรู้สึกได้รับ ความสำคัญจากหน่วยงานภาครัฐและวิศวกรสังคม เกิดการจ้างงานในพื้นที่ก่อให้ประชาชนมีรายได้ ประชาชนมีความภาคภูมิใจและตระหนักในทรัพยากรและต้นทุนในมิติต่างๆ ของพื้นที่ ประชาชนในพื้นที่เกิดความภาคภูมิใจ เนื่องจากสามารถเข้าร่วมโครงการวิศวกรสังคมและได้ทำงานในพื้นที่ของตนเอง เกิดการกระจายรายได้ลงสู่ชุมชนและพื้นที่การจ้างงานของวิศวกรสังคม
:
ด้านผศ.ดร.เสน่ห์ บุญกำเนิด รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ วิจัยและนวัตกรรม อว.ส่วนหน้าจังหวัดสุราษฎร์ธานี กล่าวว่า มหาวิทยาลัยได้มีการนำองค์ความรู้ที่มีอยู่ในชุมชนท้องถิ่นมาใช้พัฒนาพื้นที่ เกิดการบูรณาการและแบ่งปันข้อมูลการทำงานร่วมกันระหว่างชุมชน ภาครัฐ ภาคเอกชน และวิศวกรสังคม อันนำไปสู่การพัฒนาชุมชนท้องถิ่นในทิศทางเดียวกัน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ให้ความสำคัญกับการดำเนินกิจกรรมของวิศวกรสังคม และมีแนวโน้มที่จะสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินงานของวิศวกรสังคม วิศวกรสังคมมีความภาคภูมิใจเมื่อได้ดำเนินกิจกรรมประสบความสำเร็จ และเกิดแนวคิดต่อยอดการดำเนินกิจกรรมในอนาคต เป็นการผสานองค์ความรู้ร่วมกันระหว่างนักวิชาการและชาวบ้าน โดยมีวิศวกรสังคมเป็นตัวประสาน อันนำไปสู่การพัฒนาพื้นที่เชิงบูรณาการ วิศวกรสังคมได้นำองค์ความรู้ที่ตนเองมีมาร่วมกันเพื่อพัฒนาชุมชนท้องถิ่น และอาจารย์ บุคลากร นักศึกษา ได้ลงพื้นที่ชุมชนเพื่อเก็บข้อมูลแล้ว ขณะเดียวกันก็สามารถทำการเรียนการสอนนักศึกษาไปพร้อมกันในพื้นที่จริง
:
เทพพิทักษ์ ยศหมึก ข่าว
อดิสรณ์ เนาวโคอักษร/สิริวัฒนา น้อยดอนไพร ภาพ
#ศูนย์ประสานงานโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ
#มหาวิทยาลัยสู่ตำบลสร้างรากแก้วให้ประเทศ
#มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
#U2TSR
U#PRU2TSRU
#สื่อสารองค์กรมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี